คลังคำศัพท์การตั้งค่าวันลา

Modified on Thu, 4 Aug, 2022 at 11:28 AM

1. วันลาแบบขั้นบันได (Accrual Leave)

หากเปิดใช้งานการตั้งค่านี้ คุณจะสามารถกำหนดสิทธิ์วันลาสูงสุดได้แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับจำนวนปีทำงานของพนักงาน

 

ตัวอย่าง:

สมมติว่าพนักงานคนนี้ได้รับสิทธิ์ลาพักร้อน 7 วันในปีแรก (หลังปรับเป็นพนักงานประจำ), 14 วันในปีที่ 2 (>24 เดือน), 20 วันในปีที่ 5 (>60 เดือน) ตามลำดับ

การตั้งค่าใน HReasily จะเป็นไปตามนี้:

 


 

2. วันลาตามสัดส่วน (Earned Leave)

สำหรับตัวเลือกนี้ การได้รับสิทธิ์วันลาจะถูกคำนวณจากสูตรดังต่อไปนี้:

(จำนวนเดือนที่ทำงาน / 12 เดือน) x สิทธิ์ในการลา

 

หมายเหตุ: หากพนักงานเข้าทำงานช่วงกลางปี วันลาจะถูกคำนวณจากวันที่เข้าทำงาน หากตั้งค่าช่วงเวลาเริ่มนับวันลาของปีไว้ การลาก็จะถูกคำนวณจากการตั้งค่านี้ในปีถัดไป

 

 

ข้อกำหนดเบื้องต้น:

เพื่อเปิดใช้งาน วันลาตามสัดส่วน คุณจำเป็นต้องเปิดใช้งานอันใดอันหนึ่งดังนี้:

  1. วันลาแบบขั้นบันได

  2. ช่วงเวลาเริ่มนับการใช้วันลาของปี


3. อนุญาตให้ยกยอดวันลาไปปีถัดไป

หรือที่เรียกกันว่า ทบวันลา ตามชื่อหัวข้อ การตั้งค่านี้อนุญาตให้ยกยอดวันลาที่ไม่ได้ใช้ในปีนี้ไปปีหน้าได้

 

ตัวอย่าง:

บริษัท A อนุญาตให้พนักงานทบยอดวันลาพักร้อนสูงสุด 5 วันไปปีถัดไป แต่จำเป็นต้องใช้ก่อนวันสุดท้ายของไตรมาสแรก (31 มีนาคม) การตั้งค่าจะเป็นดังต่อไปนี้:

กำหนดวันหมดอายุวันหยุดที่ทบยอดมา [ไม่จำเป็น]

การตั้งค่านี้อนุญาตให้คุณกำหนดวันที่วันหยุดที่ทบยอดมาหมดอายุ หากไม่ได้กำหนดการตั้งค่านี้ วันหยุดที่ทบยอดมาจะสามารถนำมาใช้ได้ตลอดปี

 

แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด:

  1. อนุญาตให้ทบยอดวันหยุดหากวันลาเป็นแบบลดหลั่นตามสัดส่วน เพื่อที่จะได้มั่นใจว่าพนักงานมีวันลามากเพียงพอสำหรับเดือนแรกๆ ที่มีเทศกาลสำคัญ เช่น วันตรุษจีน

  2. กำหนดวันหมดอายุของวันหยุดที่ทบมาภายในไตรมาสแรกเพื่อลดความเป็นไปได้ในการที่พนักงานจะใช้วันลาจำนวนมากในการขอลาหยุดยาวที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานปกติได้

 


 4. กำหนดวันเริ่มนับการใช้วันลาของปี 

หากเปิดการใช้งาน  วันลาจะถูกเริ่มนับใหม่ตามวันที่ได้กำหนดไว้ในการตั้งค่านี้

หากไม่ได้เปิดการใช้งาน วันลาจะถูกเริ่มนับใหม่ตามวันที่พนักงานเข้าทำงาน

 

แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด:

ช่วงเวลาเริ่มนับการใช้วันลาของปีไม่จำเป็นต้องตามปีงบประมาณของบริษัท พนักงานจะสามารถวางแผนวันหยุดได้ง่ายกว่าหากเลือกใช้ตามปีปฏิทิน


5. ลาแบบไม่รับค่าจ้าง

หากเปิดใช้งาน วันลาที่พนักงานใช้ไปจะสามารถนำมาแทรกไว้ในบัญชีเงินเดือนได้อย่างง่ายดาย

 

วันลาแบบไม่รับค่าจ้างจะถูกคำนวณด้วยสูตรใดสูตรหนึ่งตามด้านล่างนี้:

(ฐานเงินเดือน / จำนวนวันทำงานจริงในเดือนนั้น) * จำนวนวันลาแบบไม่รับค่าจ้างที่ใช้ไป

(ฐานเงินเดือน / จำนวนวันในเดือนนั้นตามปฏิทิน) * จำนวนวันลาแบบไม่รับค่าจ้างที่ใช้ไป

 

6. วันลาขั้นต่ำที่ต้องใช้ (Minimum Leave Taken)

บังคับให้พนักงานใช้วันลาขั้นต่ำ X วัน เมื่อขอวันลาหยุดประเภทนั้นๆ

 


 

7. จำนวนวันขั้นต่ำในการแจ้งล่วงหน้า (Minimum Days Notice)

บังคับให้พนักงานขอวันลาหยุด X วันล่วงหน้าก่อนวันลาจริง ไม่เช่นนั้นจะมีการแจ้งเตือนเด้งขึ้นมาตามด้านล่างนี้:

 

Was this article helpful?

That’s Great!

Thank you for your feedback

Sorry! We couldn't be helpful

Thank you for your feedback

Let us know how can we improve this article!

Select at least one of the reasons
CAPTCHA verification is required.

Feedback sent

We appreciate your effort and will try to fix the article