ทำบัญชีเงินเดือนครั้งแรก [สเต็ป 3 จาก 4]

Modified on Thu, 4 Aug, 2022 at 10:06 AM


พนักงานที่ได้รับเงินเดือนตรงเวลาคือพนักงานที่มีความสุข ดังนั้น เรามารีบตั้งค่าข้อมูลการทำบัญชีเงินเดือนของบริษัทเพื่อที่จะได้มั่นใจว่าเงินเดือนพนักงานของคุณจะถูกจ่ายอย่างตรงเวลาและแม่นยำกันดีกว่า

 

การตั้งค่านี้สำคัญมาก เพื่อทำให้มั่นใจว่าไฟล์ Bank Giro (เงินเดือน) และไฟล์ Provident Fund (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) ที่ต้องนำไปยื่นนั้นถูกต้อง

 

เราจะแบ่งเนื้อหาในหน้านี้ออกเป็น 2 ส่วน:

ส่วนที่ 1: ข้อมูลบัญชีเงินเดือนของบริษัท (Company Payroll Info)

ส่วนที่ 2: การเพิ่มและการกำหนดรายการจ่าย (Adding and Assigning of Pay Items)

 


ส่วนที่ 1: ข้อมูลบัญชีเงินเดือนของบริษัท

• เริ่มต้นด้วยการเลื่อนลงไปที่ส่วน ข้อมูลบัญชีเงินเดือนบริษัท แล้วกดที่ปุ่ม แก้ไข

  • จากนั้นกรอกข้อมูลสำคัญดังต่อไปนี้:
    ‣ หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี* (Tax ID Number)
    ‣ รหัสพนักงาน* (Employee ID)
    ‣ วิธีคำนวณภาษี (Tax Calculation Method)
    ◦ คำนวณแบบสรรพากร (Recommended)
       ◦ คำนวณแบบสะสมจริง (Accumulated)

  • ‎‎‏‏‎รายละเอียดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund Details)
    ‣ ประเภทจำนวนเงิน (Amount Type)
    ◦ จำนวนประจำ (Fixed amount)
    ◦ ร้อยละ (Percentage)
    ‣ เงินสบทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของลูกจ้าง*
    [Provident Fund Employee Contribution]
    ‣ เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้าง*
    [Provident Fund Employer Contribution]
    ‣ ชื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ* (Provident Fund Name)
    ‣ รหัสกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ* (Provident Fund Code)

[หมายเหตุ: หากมีมากกว่า 1 กองทุน สามารถกดทีปุ่ม เพิ่ม  ได้ หรือหากต้องการลบก็สามารถกดที่ ลบ ได้เช่นกัน]

  • ‎‎‏‏‎รายละเอียดสำนักงานประกันสังคม (Social Security Office Details)
    ‣ หมายเลขประกันสังคม* (Social Security Office Number)
    ‣ รหัสสาขาสำนักงานประกันสังคม* (Social Security Office Branch Code)
    ‣ ชื่อสาขาสำนักงานประกันสังคม* (Social Security Office Branch Name)
    ‣ ชื่อเจ้าหน้าที่* (Officer Name)
    ‣ ตำแหน่ง* (Position)
    ‣ วันที่บังคับใช้ประกันสังคม* (Social Security Office Effective Date)
    ‣ ที่อยู่* (Address)

[หมายเหตุ: หากมีการติดต่อสำนักงานประกันสังคมมากกว่า 1 แห่ง สามารถกดทีปุ่ม เพิ่ม (Add More) ได้ หรือหากต้องการลบก็สามารถกดที่ ลบ (Remove) ได้เช่นกัน]

  • รายละเอียดธนาคาร (Bank Details)
    ‣ ธนาคาร* (Bank)
    ‣ รหัสสาขา (Branch Code)
    ‣ เลขที่บัญชี* (Account number)

  • รายละเอียดบัญชีเงินเดือน (Payroll Details)
    ‣ ประเภทวันทำงาน (Days in Month Type)
    ◦ ขึ้นอยู่กับวันปฏิทิน (Based on Calendar Days)
    ◦ จำนวนประจำ (Fixed Amount)
    [หมายเหตุ: หากเลือกแบบจำนวนคงที่ จำเป็นต้องระบุจำนวนวัน (No. of Days) ด้วย]
    ◦ ขึ้นอยู่กับวันทำงานตามปีปฏิทิน (Based on Calendar Working Days)
    ‣ ชั่วโมงการทำงานในแต่ละวัน* (Working Hours in a Day)
    ‣ จ่ายเงินเดือนหนึ่งครั้งต่อเดือน (Salary Paid Once a Month)
    (หากช่องนี้ถูกเลือก จำเป็นต้องเลือกว่า วันที่เท่าไหร่ของเดือนที่จะจ่ายเงินพนักงาน ด้วย ซึ่งวันที่ระบุไว้จะแสดงบนปฏิทินเป็นวันที่เงินเดือนออก)
    ‣ วันที่เริ่มต้นบัญชีเงินเดือนรายเดือน [ทุกๆ เดือน]*
    ‣ จ่ายเงินเดือนสองครั้งต่อเดือน (Salary Paid Twice a Month)
    (หากเลือกช่องนี้ จำเป็นต้องเลือกวันที่เพื่อตั้งค่าการจ่ายเงินครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 จะถูกคำนวณอัตโนมัติ)
    ‣ อนุญาตให้พนักงานดาวน์โหลดหนังสือรับรองการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Allow employees to download WHT certificate)
    ‣ การจ่ายเงินเดือนตามสัญญา (Contract based payroll run)
    ‣ คุณต้องการเริ่มต้นใช้งาน Payrolleasily ตั้งแต่เมื่อไหร่* (When would you like to start using Payrolleasily?)

หมายเหตุ: หากการจ่ายเงินเดือนของคุณไม่ได้เป็นทั้งแบบแบบรายเดือนหรือเดือนละ 2 ครั้ง คุณก็ยังสามารถใช้ฟังก์ชั่น บัญชีเงินเดือนเฉพาะกิจของ HReasily ได้เช่นกัน

 

กด บันทึก เมื่อคุณใส่ข้อมูลเสร็จเรียบร้อย 

 


ส่วนที่ 2: การเพิ่มและการกำหนดรายการจ่าย (Adding and Assigning of Pay Items)

รายการจ่าย (Pay Items) เป็นส่วนที่เข้ามาเพิ่มเติมจากการจ่ายเงินเดือนของแต่ละบุคคล เช่น ค่าคอมมิชชั่น โบนัส การเบิกจ่าย และอื่นๆ

 

HReasily ได้สร้างรายการจ่ายยอดนิยม 7 รายการไว้ให้คุณแล้วจากค่าเริ่มต้น

 

ส่วนที่ 2a: การสร้างรายการจ่ายใหม่

หากรายการจ่ายที่เราสร้างไว้ให้ยังไม่ตรงกับความต้องการของคุณ คุณก็สามารถสร้างรายการจ่ายเองได้โดยการกดปุ่ม สร้าง


หน้าต่าง รายการจ่ายเงินของบริษัท จะแสดงขึ้นมา

จากนั้นก็เริ่มใส่ข้อมูลตามด้านล่างนี้ได้เลย:

  • ชื่อ* (Name)

  • หมวดหมู่* (Category)
    ‣ เพิ่มเติม (Addition): เงินจะถูกเพิ่มเข้าไปในฐานเงินเดือนของพนักงาน (ตัวอย่าง: โบนัส, คอมมิชชั่น, การเบิกจ่าย)
    ‣ รายการที่หัก (Deduction): เงินจะถูกหักออกจากฐานเงินเดือนของพนักงาน (ตัวอย่าง: การลาหยุดแบบไม่จ่ายเงิน)

  • ใช้คำนวณภาษี (Subject to tax)

  • รายการจ่ายเงินตามกำหนด (Recurring Pay Item)

  • ใช้คำนวณประกันสังคม (Subject to SSO)

  • ใช้คำนวณกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Subject to PF)

  • ใช้คำนวณค่าล่วงเวลา (Subject to OT)

  • ประเภทจำนวนเงิน (Amount Type):
    ‣ ประจำ (Fixed): จำนวนเงินเท่ากันในทุกๆ เดือน
    ◦ จำนวนเงิน (Pay Item Amount) [สำหรับแบบจำนวนเงินแน่นอน]
    ‣ เปลี่ยนแปลงได้ (Variable): จำนวนเงินแตกต่างกันออกไปในแต่ละเดือน
    [หมายเหตุ: คุณสามารถแก้ไขจำนวนเงินรายการจ่ายได้ระหว่างทำบัญชีเงินเดือน หากคุณต้องการให้รายการจ่ายใดเป็นทั้งแบบจำนวนเงินแน่นอนและไม่แน่นอน คุณก็สามารถสร้างรายการจ่ายนั้นๆ แยกออกเป็น 2 รายการได้ หรือเพียงแค่แก้ไขจำนวนเงินในบัญชีเงินเดือนก็ได้เช่นกัน ดูที่นี่]
    ◦ ประเภทของจำนวนเงินแบบเปลี่ยนแปลงได้ (Variable Amount Type)
    » จำนวนเฉพาะกิจ (Ad-Hoc Amount)
    » เปอร์เซ็นต์ (%) ต่อค่าตอบแทนรายชั่วโมง (Percentage (%) of hourly rate)
           » เปอร์เซ็นต์ (%) ต่อค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ย (Percentage (%) of avg daily wages)

หลักจากกรอกข้อมูลครบทุกช่องแล้ว ก็กด บันทึก ได้เลย

 

ส่วนที่ 2b: การกำหนดรายการจ่ายให้กับพนักงาน

หลังจากที่คุณสร้ายรายการจ่ายที่จำเป็นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะกำหนดรายการจ่ายต่างๆ ให้กับพนักงานที่มีสิทธิ์ได้รับ

โดยกดที่ปุ่ม เลือกเพื่อดำเนินการ ที่อยู่ทางด้านซ้ายของรายการจ่ายนั้นๆ 

เลือก กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงให้พนักงานหลายคน

จากนั้นก็เลือกพนักงานที่มีสิทธิ์ได้รับด้วยการกดที่กล่องด้านหน้าชื่อพนักงานคนนั้นๆ เมื่อเสร็จแล้วให้กด บันทึก

ความช่วยเหลือเพิ่มเติม:


เพียงเท่านี้ การตั้งค่าบัญชีเงินเดือนของบริษัทคุณก็เสร็จสมบูรณ์แล้ว และคุณก็พร้อมแล้วสำหรับการทำบัญชีเงินเดือนครั้งแรกกับ HReasily!

 

Was this article helpful?

That’s Great!

Thank you for your feedback

Sorry! We couldn't be helpful

Thank you for your feedback

Let us know how can we improve this article!

Select at least one of the reasons
CAPTCHA verification is required.

Feedback sent

We appreciate your effort and will try to fix the article