ทำบัญชีเงินเดือนครั้งแรก [สเต็ป 3 จาก 4]

แก้ไขเมื่อ วันจันทร์, 7 ตุลาคม, 2024 เมื่อ 4:26 PM


พนักงานที่ได้รับเงินเดือนตรงเวลาคือพนักงานที่มีความสุข ดังนั้น เรามารีบตั้งค่าข้อมูลการทำบัญชีเงินเดือนของบริษัทเพื่อที่จะได้มั่นใจว่าเงินเดือนพนักงานของคุณจะถูกจ่ายอย่างตรงเวลาและแม่นยำกันดีกว่า

 

การตั้งค่านี้สำคัญมาก เพื่อทำให้มั่นใจว่าไฟล์ Bank Giro (เงินเดือน) และไฟล์ Provident Fund (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) ที่ต้องนำไปยื่นนั้นถูกต้อง

 

เราจะแบ่งเนื้อหาในหน้านี้ออกเป็น 2 ส่วน:

ส่วนที่ 1: ข้อมูลบัญชีเงินเดือนของบริษัท (Company Payroll Info)

ส่วนที่ 2: การเพิ่มและการกำหนดรายการจ่าย (Adding and Assigning of Pay Items)

 


ส่วนที่ 1: ข้อมูลบัญชีเงินเดือนของบริษัท

• เริ่มต้นด้วยการเลื่อนลงไปที่ส่วน ข้อมูลบัญชีเงินเดือนบริษัท แล้วกดที่ปุ่ม แก้ไข

  • จากนั้นกรอกข้อมูลสำคัญดังต่อไปนี้:
    ‣ หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี* (Tax ID Number)
    ‣ รหัสพนักงาน* (Employee ID)
    ‣ วิธีคำนวณภาษี (Tax Calculation Method)
    ◦ คำนวณแบบสรรพากร (Recommended)
       ◦ คำนวณแบบสะสมจริง (Accumulated)

  • ‎‎‏‏‎รายละเอียดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund Details)
    ‣ ประเภทจำนวนเงิน (Amount Type)
    ◦ จำนวนประจำ (Fixed amount)
    ◦ ร้อยละ (Percentage)
    ‣ เงินสบทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของลูกจ้าง*
    [Provident Fund Employee Contribution]
    ‣ เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้าง*
    [Provident Fund Employer Contribution]
    ‣ ชื่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ* (Provident Fund Name)
    ‣ รหัสกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ* (Provident Fund Code)

[หมายเหตุ: หากมีมากกว่า 1 กองทุน สามารถกดทีปุ่ม เพิ่ม  ได้ หรือหากต้องการลบก็สามารถกดที่ ลบ ได้เช่นกัน]

  • ‎‎‏‏‎รายละเอียดสำนักงานประกันสังคม (Social Security Office Details)
    ‣ หมายเลขประกันสังคม* (Social Security Office Number)
    ‣ รหัสสาขาสำนักงานประกันสังคม* (Social Security Office Branch Code)
    ‣ ชื่อสาขาสำนักงานประกันสังคม* (Social Security Office Branch Name)
    ‣ ชื่อเจ้าหน้าที่* (Officer Name)
    ‣ ตำแหน่ง* (Position)
    ‣ วันที่บังคับใช้ประกันสังคม* (Social Security Office Effective Date)
    ‣ ที่อยู่* (Address)

[หมายเหตุ: หากมีการติดต่อสำนักงานประกันสังคมมากกว่า 1 แห่ง สามารถกดทีปุ่ม เพิ่ม (Add More) ได้ หรือหากต้องการลบก็สามารถกดที่ ลบ (Remove) ได้เช่นกัน]

  • รายละเอียดธนาคาร (Bank Details)
    ‣ ธนาคาร* (Bank)
    ‣ รหัสสาขา (Branch Code)
    ‣ เลขที่บัญชี* (Account number)

  • รายละเอียดบัญชีเงินเดือน (Payroll Details)
    ‣ ประเภทวันทำงาน (Days in Month Type)
    ◦ ขึ้นอยู่กับวันปฏิทิน (Based on Calendar Days)
    ◦ จำนวนประจำ (Fixed Amount)
    [หมายเหตุ: หากเลือกแบบจำนวนคงที่ จำเป็นต้องระบุจำนวนวัน (No. of Days) ด้วย]
    ◦ ขึ้นอยู่กับวันทำงานตามปีปฏิทิน (Based on Calendar Working Days)
    ‣ ชั่วโมงการทำงานในแต่ละวัน* (Working Hours in a Day)
    ‣ จ่ายเงินเดือนหนึ่งครั้งต่อเดือน (Salary Paid Once a Month)
    (หากช่องนี้ถูกเลือก จำเป็นต้องเลือกว่า วันที่เท่าไหร่ของเดือนที่จะจ่ายเงินพนักงาน ด้วย ซึ่งวันที่ระบุไว้จะแสดงบนปฏิทินเป็นวันที่เงินเดือนออก)
    ‣ วันที่เริ่มต้นบัญชีเงินเดือนรายเดือน [ทุกๆ เดือน]*
    ‣ จ่ายเงินเดือนสองครั้งต่อเดือน (Salary Paid Twice a Month)
    (หากเลือกช่องนี้ จำเป็นต้องเลือกวันที่เพื่อตั้งค่าการจ่ายเงินครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 จะถูกคำนวณอัตโนมัติ)
    ‣ อนุญาตให้พนักงานดาวน์โหลดหนังสือรับรองการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Allow employees to download WHT certificate)
    ‣ การจ่ายเงินเดือนตามสัญญา (Contract based payroll run)
    ‣ คุณต้องการเริ่มต้นใช้งาน Payrolleasily ตั้งแต่เมื่อไหร่* (When would you like to start using Payrolleasily?)

หมายเหตุ: หากการจ่ายเงินเดือนของคุณไม่ได้เป็นทั้งแบบแบบรายเดือนหรือเดือนละ 2 ครั้ง คุณก็ยังสามารถใช้ฟังก์ชั่น บัญชีเงินเดือนเฉพาะกิจของ HReasily ได้เช่นกัน

 

กด บันทึก เมื่อคุณใส่ข้อมูลเสร็จเรียบร้อย 

 


ส่วนที่ 2: การเพิ่มและการกำหนดรายการจ่าย (Adding and Assigning of Pay Items)

รายการจ่าย (Pay Items) เป็นส่วนที่เข้ามาเพิ่มเติมจากการจ่ายเงินเดือนของแต่ละบุคคล เช่น ค่าคอมมิชชั่น โบนัส การเบิกจ่าย และอื่นๆ

 

HReasily ได้สร้างรายการจ่ายยอดนิยม 7 รายการไว้ให้คุณแล้วจากค่าเริ่มต้น

 

ส่วนที่ 2a: การสร้างรายการจ่ายใหม่

หากรายการจ่ายที่เราสร้างไว้ให้ยังไม่ตรงกับความต้องการของคุณ คุณก็สามารถสร้างรายการจ่ายเองได้โดยการกดปุ่ม สร้าง


หน้าต่าง รายการจ่ายเงินของบริษัท จะแสดงขึ้นมา

จากนั้นก็เริ่มใส่ข้อมูลตามด้านล่างนี้ได้เลย:

  • ชื่อ* (Name)

  • หมวดหมู่* (Category)
    ‣ เพิ่มเติม (Addition): เงินจะถูกเพิ่มเข้าไปในฐานเงินเดือนของพนักงาน (ตัวอย่าง: โบนัส, คอมมิชชั่น, การเบิกจ่าย)
    ‣ รายการที่หัก (Deduction): เงินจะถูกหักออกจากฐานเงินเดือนของพนักงาน (ตัวอย่าง: การลาหยุดแบบไม่จ่ายเงิน)

  • ใช้คำนวณภาษี (Subject to tax)

  • รายการจ่ายเงินตามกำหนด (Recurring Pay Item)

  • ใช้คำนวณประกันสังคม (Subject to SSO)

  • ใช้คำนวณกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Subject to PF)

  • ใช้คำนวณค่าล่วงเวลา (Subject to OT)

  • ประเภทจำนวนเงิน (Amount Type):
    ‣ ประจำ (Fixed): จำนวนเงินเท่ากันในทุกๆ เดือน
    ◦ จำนวนเงิน (Pay Item Amount) [สำหรับแบบจำนวนเงินแน่นอน]
    ‣ เปลี่ยนแปลงได้ (Variable): จำนวนเงินแตกต่างกันออกไปในแต่ละเดือน
    [หมายเหตุ: คุณสามารถแก้ไขจำนวนเงินรายการจ่ายได้ระหว่างทำบัญชีเงินเดือน หากคุณต้องการให้รายการจ่ายใดเป็นทั้งแบบจำนวนเงินแน่นอนและไม่แน่นอน คุณก็สามารถสร้างรายการจ่ายนั้นๆ แยกออกเป็น 2 รายการได้ หรือเพียงแค่แก้ไขจำนวนเงินในบัญชีเงินเดือนก็ได้เช่นกัน ดูที่นี่]
    ◦ ประเภทของจำนวนเงินแบบเปลี่ยนแปลงได้ (Variable Amount Type)
    » จำนวนเฉพาะกิจ (Ad-Hoc Amount)
    » เปอร์เซ็นต์ (%) ต่อค่าตอบแทนรายชั่วโมง (Percentage (%) of hourly rate)
           » เปอร์เซ็นต์ (%) ต่อค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ย (Percentage (%) of avg daily wages)

หลักจากกรอกข้อมูลครบทุกช่องแล้ว ก็กด บันทึก ได้เลย

 

ส่วนที่ 2b: การกำหนดรายการจ่ายให้กับพนักงาน

หลังจากที่คุณสร้ายรายการจ่ายที่จำเป็นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะกำหนดรายการจ่ายต่างๆ ให้กับพนักงานที่มีสิทธิ์ได้รับ

โดยกดที่ปุ่ม เลือกเพื่อดำเนินการ ที่อยู่ทางด้านซ้ายของรายการจ่ายนั้นๆ 

เลือก กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงให้พนักงานหลายคน

จากนั้นก็เลือกพนักงานที่มีสิทธิ์ได้รับด้วยการกดที่กล่องด้านหน้าชื่อพนักงานคนนั้นๆ เมื่อเสร็จแล้วให้กด บันทึก

ความช่วยเหลือเพิ่มเติม:


เพียงเท่านี้ การตั้งค่าบัญชีเงินเดือนของบริษัทคุณก็เสร็จสมบูรณ์แล้ว และคุณก็พร้อมแล้วสำหรับการทำบัญชีเงินเดือนครั้งแรกกับ HReasily!

 

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

เยี่ยมเลย!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

บอกให้เราทราบว่าเราจะปรับปรุงบทความนี้ได้อย่างไร!

เลือกเหตุผลอย่างน้อยหนึ่งข้อ
ต้องมีการตรวจสอบ CAPTCHA

ส่งข้อเสนอแนะแล้ว

เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว